วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

หลุมดำมวลมหาศาลยิ่ง

   หลุมดำมวลมหาศาลยิ่ง 29 มกราคม 2556 
การศึกษาใหม่ที่ใช้ข้อมูลจากหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทราของนาซ่าบอกว่าหลุมดำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอกภพบางส่วนแท้จริงแล้วอาจจะใหญ่กว่าที่เคยคิดไว้
        จุดสว่างที่ใจกลางของกาแลคซีทรงกลมขนาดใหญ่แห่งนี้เป็นหนึ่งในหลุมดำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอกภพในการสำรวจซึ่งนักวิทยาศาสตร์เพิ่งพบว่ามันใหญ่กว่าที่เคยคิดไว้ กาแลคซีแห่งนี้อยู่ที่ใจกลางของกระจุกกาแลคซี PKS 0745-19 ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 1.3 พันล้านปีแสง ข้อมูลรังสีเอกซ์จากหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทราแสดงเป็นสีม่วง ข้อมูลช่วงตาเห็นจากกล้องฮับเบิลแสดงเป็นสีเหลือง






นักดาราศาสตร์ทราบมานานเกี่ยวกับหลุมดำประเภทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งพวกเขาบอกว่า หลุมดำมวลมหาศาล(supermassive black holes) โดยปกติ หลุมดำเหล่านี้มีมวลได้ตั้งแต่ไม่กี่ล้านเท่าจนถึงไม่กี่พันล้านเท่าดวงอาทิตย์ การวิเคราะห์กาแลคซีที่สว่างที่สุดครั้งใหม่ในกระจุกกาแลคซี 18 แห่งบอกว่า มีหลุมดำอย่างน้อย 10 แห่งในกาแลคซีเหล่านี้ที่มีมวลระหว่าง 10 ถึง 40 พันล้านเท่ามวลดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์เรียกหลุมดำที่มีขนาดใหญ่อย่างนี้ว่า มวลมหาศาลยิ่ง(ultramassive) และรู้จักตัวอย่างเพียงไม่กี่แห่งที่ยืนยันแล้ว 


ผลสรุปของเราแสดงว่าอาจจะมีหลุมดำมวลมหาศาลยิ่งในเอกภพมากกว่าที่เคยคิดไว้ Julie Hlavacek-Larrondo จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในคาลิฟอร์เนีย กล่าว การทำนายมวลหลุมดำบางส่วนเป็นเพียงขีดจำกัดขั้นต่ำ ดังนั้นมันน่าจะสูงกว่านั้น ส่วนจะใหญ่ได้แค่ไหน ฉันคิดว่าน่าจะมีหลุมดำสักแห่งที่ใหญ่ระดับ 1 ร้อยพันล้านเท่าซึ่งนั้นเรียกได้ว่าเป็น พี่เบิ้มจริงๆ 


แหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น