วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

การเกิดมิวเทชัน




Mutation
เป็น กระบวนการเปลี่ยนลำดับบนสาย DNA ทำให้หมู่เบสบนสายของ mRNA มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยหลังจากการ transcription อาจมีผลทำให้โปรตีนที่ได้จากการแปลรหัสบน mRNA เปลี่ยนแปลงไปได้ mutation แบ่งเป็น 2 ระดับคือ ระดับยีน และ ระดับโครโมโซม



  ประเภทของมิวเทชัน  
มิวเทชันเกิดกับเซลล์ในร่างกาย 2 ลักษณะ คือ
1.เซลล์ร่างกาย (Somatic cell)
เซลล์ชนิดนี้เมื่อเกิดมิวเทชันแล้ว จะไม่ถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป
2.เซลล์สืบพันธุ์ (Sex cell) 
เซลล์เหล่านี้เมื่อเกิดมิวเทชันแล้วจะถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมาก ที่สุด และส่งผลต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตด้วย
  ปัจจัยที่ทำให้เกิดมิวเทชัน  
ตัวกระตุ้นหรือชักนำให้เกิดมิวเทชัน จะเรียกว่าสิ่งก่อกลายพันธุ์ (mutagen) เช่น
1.รังสี (radiation) รังสีที่กระตุ้นให้เกิดมิวเทชันมี 2 ชนิดคือ
Ionizing Radiation เช่น รังสีบีต้า, รังสีแกมมา, รังสีเอกซ์
Non-Ionizing Radiation เช่น รังสีอุลตร้าไวโอเลต
2.สารเคมี เช่น สารโคลซิซิน (colchicine) มีผลทำให้มีการเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซม ผลดังกล่าวนี้ทำให้ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น สารไดคลอวอส (dichlovos) ที่ใช้กำจัดแมลงและพาราควอต (paraquat) ที่ใช้กำจัดวัชพืช ก็สามารถทำให้เกิดการผิดปกติของโครโมโซมในคนและสัตว์ได้ สิ่งก่อกลายพันธุ์หรือมิวทาเจนหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) เช่น สารอะฟลาทอกซิน จากเชื้อราบางชนิดทำให้เกิดมะเร็งที่ตับเป็นต้น
3.การจัดเรียงเบสในกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA replication) ผิดพลาด มีผลทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดจำนวนเบสในคู่สาย และทำให้เกิดการเลื่อน (shift) ของสายDNA

แหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น